วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อุณหพลศาสร์ (Thermodynamics)

 เป็นแขนงวิชาที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เกิดขึ้นกับกระบวนการทางเคมีและฟิสิกส์  การศึกษาวิชานี้ทำให้ทราบว่าปฏิกิริยาหนึ่งๆจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือสามารถเกิดขึ้นได้เองหรือไม่และมีปริมาณพลังงานความร้อนเกี่ยวข้องด้วยเท่าใด เป็นปฏิกิริยาดูดหรือคายความร้อน เป็นต้น

กฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์         กฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์         

- พลังงาน                                         - กระบวนการที่เกิดได้เอง

- งาน PV                                          - เอนโทรปี

- เอนทัลปี                                         - พลังงานอิสระกิบส์

- ความจุความร้อน

- พลังงานพันธะ

กฎข้อที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์

      กฎทรงพลังงาน : พลังงานที่ไม่อาจเกิดขึ้น หรือ ถูกทำลายได้และไม่สูญหาย  แต่อาจเปลี่ยนพลังงานจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ โดยพลังงานก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงจะต้้องเ่ท่าเดิม


** ชนิดตัวแปร **


เอนทัลปี


q   คือ ความร้อนที่ถ่ายเถระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
W  คือ งานที่ระบบให้กับสิ่งแวดล้อม หรือ สิ่งแวดล้อมให้กับระบบ

*หน่วยของตัวแปร*
P = atm
V = L

*การเปลี่ยนหน่วย*
                        1 L.atm  =  101.3  J
                        1 J        =   4.138 cal


การหาการถ่ายเทความร้อน แบ่งได้ 5 กรณี ดังนี้

1.เทียบหาจากความสัมพันธ์จากสมการ (โดยใช้ปริมาณสารสัมพันธ์)
2.เอนทัลปีมาตราฐาน หรือ ค่าเอนทัลปีมาตราฐานของการเกิด
3.หา H จากพลังงานพันธะ





4.หา H จากกฎของเฮสส์ (Hess's law)
   หลักการ : เป็นการบวกสมการย่อยที่กำหนดให้ ให้เหมือนสมการที่ถาม
Note : สารอินเทอร์มีเดียตหรือสารตัวกลางหรือสารมัธยันต์ คือ ไม่ใช่สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์  เกิดขึ้นระหว่างปฏิกิริยาและถูกใช้หมดไป

ตัวเร่งปฏิกิริยา  คือ ใส่เพื่อทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาให้เกิดได้เร็วขึ้น สังเกตุจากการใส่ตั้งแ่ต่สารตั้งต้นหายไประหว่างปฏิกิริยา และได้กลับมาในตอนสุดท้าย

5.หาได้จากเครื่องแคลอริมิเตอร์


   q = ปริมาณความร้อน
   c = ค่าความจุความร้อน
   T = อุณหภูมิที่แตกต่างกัน (องศาเซลเซียส)
   m = มวลสาร (g)
   s  = ค่าความร้อนจำเพาะ

Ps.สงสัยอะไร ถามได้ในคอมเม้นต์จ้า ( ̄﹏ ̄”)

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

สสารและการวัด (Substance and Measurement)

Chapter I : สสารและการวัด 
@หน้าร้าน Ping-ka-Pong    time/date: 11:30 am / Fri 6th 2012

การจำแนกสสาร - สารและของผสม
สาร (substance) คือ รูปหนึ่งของสสารที่มีองคประกอบแนนอนหรือคงที่ และมีสมบัติที่ชัดเจน เชน น้ำ แอมโมเนีย น้ำตาลทราย ฯลฯ
ของผสม (mixture) คือ ประกอบดวยสารตั้งแต 2 ชนิดขึ้นไป โดยที่แตละสารยังคงเอกลักษณของตนอยู เชน อากาศ น้ำอัดลม น้ำนม ซีเมนต ฯลฯ
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
 - ของผสมเนื้อเดียว (homogeneous mixture)   คือ ของผสมที่มีองคประกอบคงที่ตลอด
 - ของผสมเนื้อผสม (heterogeneous mixture) คือ ของผสมที่มีองค์ประกอบไม่คงที่

การจำแนกสสาร - ธาตุและสารประกอ
ธาตุ (element) คือ สารที่ไมสามารถแยกออกเปนสารอื่นดวยวิธีทางเคมีสัญลักษณของธาตุมักประกอบดวยตัวอักษร 1-3 ตัว 
โดยตัวแรกเปนตัวใหญ ตัวถัดมาเปนตัวเล็กเสมอ เชน โซเดียม = Na, โคบอลต = Co

สารประกอบ (compound) คือ สารที่ประกอบดวยอะตอมของธาตุตั้งแต 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกันทางเคมีในอัตราสวนที่แนนอน  
เช่น น้ำ ประกอบ ด้วยไฮโดรเจน 2 สวน และออกซิเจน 1 ส่วน

  

การอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก
 1.สารประกอบธาตุคู่ คือ ถ้าสารประกอบเกิดจากธาตุโลหะที่มีไออนได้ชนิดเดียวรวมกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวก
แล้วตามด้วยชื่อธาตุอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (-ide) 
        เช่น   ออกซิเจน (Oxygen) -> ออกไซด์ (Oxide) 
                    ไฮโดรเจน (Hydrogen)  -> ไฮไดรด์  (Hydride)
               คลอรีน  (Chlorine)  ->  คลอไรด์  (Chloride)
                   ไอโอดีน (Iodine)  ->  ไอโอไดด์ (Iodide)

ถ้าสารประกอบที่เกิดจากธาตุโลหะเดียวกันที่มีไออนได้หลายชนิดรวมตัวกับอโลหะ  ให้อ่ายชื่อดลหะที่เป็นไอออนบวกแล้วตามด้วย
ค่าประจะของไอออนของโลหะ ดดยวงเล็บเป็นเลขโรมัน แล้วตามด้วยอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (-ide)
เช่น Fe เกิดไออออนได้ 2 ชนิดคือ Fe 2+ กับ Fe 3+  และ  Cu เกิดไอออนได้ 2 ชนิดคือ Cu+ กับ Cu 2+  สารประกอบที่เกิดขึ้นและการอ่าน
ชื่อสารจะได้ดังนี้
                      CuS         อ่านว่า  คอปเปอร์ (I) ซัลไฟด์  [Copper(I)Sulfide]
              Cu2S        อ่านว่า  คอปเปอร์ (II) ซัลไฟด์  [Copper(II)Sulfide]
                  FeCl2      อ่านว่า ไอรอน (II) คลอไรด์  [Iron(II) Chloride]
              FeCl3       อ่านว่า ไอรอน (III) คลอไรด์  [Iron(III) Chloride]


เลขนัยสำคัญ (Significant figure) 
หมายถึง จำนวนหลักของตัวเลขที่มีความหมายในปริมาณที่วัดหรือคำนวณไดเมื่อนับจำนวนเลขนัยสำคัญแลวเปนที่เขาใจกันวา
หลักสุดทายเปนคาที่ไมแนนอน เนื่องมาจาก ความละเอียดของเครื่องมือวัด

 - กฎในการเขียนเลขนัยสำคัญ
1.เลขจำนวนเต็มที่ไมใชศูนยใหนับเปนเลขนัยสำคัญเสมอ
        เช่น  853 cm มีเลขนัยสำคัญ 3 ตำแหน่ง

2. เลขศูนยที่อยูข้างหน้า หรืออยู่ระหว่างจุดทศนิยมหรือตัวเลขไม่นับ เป็นเลขนัยสำคัญ เพราะใส่เพื่อแสดงตำแหน่งจุดทศนิยมเท่านั้น
        เช่น 0.00012 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตำแหน่ง  ,  0.00000000235 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตำแหน่ง

3.เลขศูนยที่อยู่ระหว่างตัวเลขให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ
        เช่น  1.0008 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตำแหน่ง  ,  300568 มีเลขนัยสำคัญ 6 ตำแหน่ง

มีคำถามอะไรโพส์ไว่ในคอมเมนต์ได้เลยนะจ๊ะ :) แล้วจะทะยอยตอบให้ (づ ̄ ³ ̄)